พุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554
ผู้สนับสนุนข้อตกลงเขตการค้าเสรีโคลอมเบีย โดย จอห์น เมอร์ฟี่
บริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา สภาหอการค้าแห่งสหรัฐฯ, นายกเทศมนตรีและหนังสือพิมพ์ชื่อดัง สนับสนุนข้อตกลงเขตการค้าเสรีโคลอมเบีย
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัก โอบาม่าได้กล่าวถึงข้อตกลงการค้าเสรีประเทศโคลอมเบีย ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554
นายจอห์น โบเอเนอร์ โฆษกทำเนียบขาว หนึ่งในผู้สนับสนุนข้อตกลงเขตการค้าเสรีโคลอมเบีย
นายแม๊กซ์ เบาว์คัส(พรรคเดโมแคร็ต) ประธานคณะกรรมการสภาการคลังสหรัฐอเมริกา กล่าวในอาทิตย์นี้ว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีโคลอมเบียดำเนินการล่าช้ามาก
โทมัส แม็ค แม็คลาตี้ (ที่สาม), เสนาธิการสมัยประธานาธิบดีคลินตัน ได้กระตุ้นนาย โอบาม่า ในความคืบหน้าของข้อตกลงเขตการค้าเสรีโคลอมเบีย
สภาหอการค้าสหรัฐฯได้แสดงความพอใจกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเกาหลี สหรัฐฯที่ได้รับการสนับสนุน อย่างไรก็ตาม เสียงส่วนน้อยที่มีต่อข้อตกลงการเขตค้าเสรีละตินอเมริกาได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นก็จะมีการสรุปเรื่องนี้ได้เร็วขึ้นโดยเน้นที่ประเทศ โคลอมเบีย
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกา-โคลอมเบีย และสหรัฐ-ปานามา ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากรัฐสภา โดยเฉพาะในพรรครีพับบลิกัน
นายจอห์น โบเอเนอร์โฆษกทำเนียบขาว, Dave Camp ประธานกรรมการ Ways and Means, นายมิชท์ แม็คคอนเนล หัวหน้าสมาชิกวุฒิสภาพรรค รีพับลิกัน และ ออริน แฮทช์ ประธานสภาการคลังสหรัฐฯ ได้ออกเสียงสนับสนุนข้อตกลงการค้าเสรีอย่างเปิดเผยมาเป็นเวลานานแล้ว นาย เควิน บราดี้ ตำแหน่ง House Ways and Means Trade Subcommittee Chairman (ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้(ทางการค้า)) กล่าวว่าเขายินดีเรื่อง ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเกาหลีและเขาก็ต้องการให้เกิดขึ้นกับประเทศโคลอมเบียและปานามาตอนนี้ด้วยเช่นกัน
ได้มีเสียงสนับสนุนจากผู้นำพรรคเดโมแครต ประกอบไปด้วย :
นายแม๊กซ์ เบาว์คัส คณะกรรมการสภาการคลังสหรัฐฯ กล่าวในสัปดาห์นี้ว่า เรื่องของข้อตกลงการค้าเสรีโคลอมเบียได้ดำเนินการล่าช้ามากและตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะทำการแก้ไขหัวข้อที่ยังค้างคาอยู่และอนุมัติข้อตกลง เพื่อที่จะให้เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์, ชาวนา และผู้ใช้แรงงานได้มีโอกาสในการแข่งขันทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น
สตีนี่ย์ โฮเยอร์ ผู้นำเสียงข้างมากในทำเนียบขาว กล่าวเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า เขาหวังว่าข้อตกลงของโคลอมเบียและปานามาควรที่จะได้รับการพิจารณาไปพร้อมๆกันหรือพิจารณาก่อนข้อตกลงกับเกาหลี
บริษัท, องค์กรทางธุรกิจ และหน่วยงานทางการเกษตรมากกว่า 1000 แห่ง ได้แสดงให้เห็นว่าทุกหน่วยงานของสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งรัฐทุกรัฐในสหรัฐฯได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก the Latin America Trade Coalition ที่เรียกร้องให้มีการอนุมัติข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐ-โคลอมเบีย และสหรัฐฯ-ปานามา มากกว่า 400 รัฐในสหรัฐฯและสภาหอการค้าของแต่ละรัฐที่สนับสนุนข้อตกลงนี้ แทบจะไม่มีผู้ใดในสังคมธุรกิจคัดค้านสองข้อตกลงนี้เลย
กลุ่มองค์กรทางด้านเกษตรกรรม มากกว่า 50 กลุ่ม เป็นตัวแทนของชาวนาและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ในสหรัฐฯซึ่งผลิตแอปเปิ้ลและบวบได้เรียกร้องให้สภาสหรัฐฯรับรองสองข้อตกลงดังกล่าว โดยไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของสหรัฐฯมาคัดค้านข้อเรียกร้องนี้ องค์กรการเกษตรของสหรัฐ ฯ ได้ประเมินว่าข้อตกลงโคลอมเบียและปานามาจะสามารถผลักดันให้การส่งออกของสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้นถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯได้หลังจากเริ่มนำข้อตกลงมาใช้เพียงครั้งเดียว
หนังสือพิมพ์แห่งชาติและท้องถิ่นในสหรัฐมากกว่า 100 แห่ง ให้การรับรองข้อตกลงอย่างเป็นทางการเป็นเวลาสี่ปี ตั้งแต่เริ่มเซ็นสัญญา หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส ได้ให้ข่าวเมื่อสองปีที่แล้วว่า รัฐสภาควรรีบพิจารณาอนุมัติข้อตกลงกับโคลอมเบียได้แล้ว
และเมื่อเร็วๆนี้ วอชิงตัน โพสต์ได้เขียนบทบรรณาธิการว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารฯของโอบาม่า ตั้งใจที่จะผลักดันเรื่องการส่งออกและอาชีพภายในประเทศ ก็ต้องหยุดพูดอ้อมค้อมและเพิ่มประเทศปานามากับโคลอมเบียลงในเขตการค้าเสรีให้เป็นหนึ่งนโยบายของสภาใหม่ได้แล้ว
โทมัส แม็ค แม็คลาตี้ที่สาม เสนาธิการสมัยประธานาธิบดีคลินตัน และเนลสัน คันนิ่งแฮม นายทหารผู้ช่วยประธานาธิบดีคลินตัน, โจเซฟ บิดเดน ได้เขียนบทความลงใน วอล์ล สตรีท เจอนอล ว่า ประธานาธิบดีควรลงมติในข้อตกลงฯที่ยังไม่เรียบร้อยทั้งปานามาและโคลอมเบียในให้เร็วแทนที่จะทำเรื่องนี้ไว้ทีหลัง
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ-โคลอมเบียได้รับการรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยการประชุมนายกเทศมนตรีแห่งสหรัฐโดยได้รับเสียงโหวตมากกว่า 1000 เสียงจากรัฐต่างๆของสหรัฐฯ เช่น the American Legislative Exchange Council, the nations largest nonpartisan association of state legislators และ the League of United Latin American Citizens หรือ LULAC เป็นองต์การที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสหรัฐฯ
|